พิธีเปิด - ปิดการแข่งขัน ของ เอเชียนเกมส์ 1998

การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการได้กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยต้องแสดงออกถึงการถ่ายทอดปรัชญา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นไทย การดำเนินวิถีชีวิตของชนชาติไทย วิวัฒนาการสู่อนาคตของคนไทย โดยบ่งบอกถึงการแสดงออกซึ่งความเป็นชาวเอเชีย ความเป็นสากลทางการกีฬา โดยให้สอดคล้องกับคำขวัญของการแข่งขันครั้งนี้ คือ "มิตรภาพไร้พรมแดน Friendship Beyond Frontiers" อีกทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดเลือก บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยพิจารณาจากการนำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ความเป็นสากลในรูปแบบการแสดง การใช้เทคนิคพิเศษ แสง สี เสียง ศักยภาพของบริษัท ตลอดจนแม่บทในการดำเนินงาน

จุดประสงค์และประเด็นหลักของการจัดพิธีเปิด-ปิดครั้งนี้ คือ แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเอเชีย ถ่ายทอดความเป็นไทย ความเป็นสากลทางการกีฬา ศักยภาพและมาตรฐานในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของประเทศไทย โดยจัดให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตา โดยเน้นความประหยัด และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้สอดคล้องต่อปีแห่งการท่องเที่ยว Amazing Thailand

ต่อมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มีมติให้ บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ปรับลดเวลาในการจัดแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดให้กระชับลงกว่าเดิม พิธีเปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชั่วโมงให้คงเหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง และพิธีปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชัวโมงครึ่ง ให้คงเหลือ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีช่วงเวลาเหมาะสมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรการแสดง ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน

ในครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพได้ประมวลภาพหมู่ประเทศสมาชิกมาเป็นสัญลักษณ์ อันจะเสนอให้โลกรับรู้ได้ถึง "SPIRIT OF ASIA" หรือ "จิตวิญญาณแห่งบูรพา" โดยทำให้ภาพกระจ่างชัด ด้วยการแบ่งออกเป็น 4 ช่วง และมีความหมายโดยนัยอีกหนึ่งระดับ คือ

พิธีเปิด

พิธีเปิดราชมังคลากีฬาสถานและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จด้วย การจุดไฟในกระถางคบเพลิงเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2541 นักวิ่งคบเพลิงมอบให้ สมรักษ์ คำสิงห์นำไปจุดไฟที่บุษบก ก่อนที่ไฟในบุษบกจะพุ่งไฟไฟใส่กระถางคบเพลิง ระหว่างนั้นชาวพนักงานรัวเปิงและประโครมสังข์คั่นไปด้วย

การแสดงพิธีเปิด

ด้วยความคิดรวบยอดและสัญลักษณ์สำคัญดังกล่าว จึงจัดการแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดร่วมกันด้วยเรื่องราวของจิตวิญญาณแห่งบูรพาอันเป็นเอกภาพ โดยแบ่งการแสดงพิธี้ปิดออกเป็น 2 องก์ และการแสดงพิธีปิดอีก 2 องก์ ในระหว่างแต่ละองก์นั้น จะประกอบด้วยหัวใจของงาน คือ พิธีการ OCA ซึ่งถือเอาพิธีการจุดและดับคบเพลิงเป็นจุดเด่น สำหรับพิธีเปิดนั้น แม้พิธีการ OCA และการจุดคบเพลิงจะเป็นทางการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว บรรยากาศของการแสดงทุกชุดก็จะจัดออกมาเสริมสร้างให้เกิดความสง่างามยิ่งขึ้น เป็นความตระการตาที่สมบูรณ์ด้วยเนื้อหา ที่ต้องจารึกอยู่ในความทรงจำอันประกอบด้วย 2 องก์ คือ

องก์ที่ 1 สวัสดีบูรพา เป็นการแสดงภาคกลางวัน มีการแสดง 3 ชุด คือ รุ่งอรุโณทัย สหพันธไมตรี สวัสดีไชโย เมื่อเข้าสู่พิธีการ OCA จนกระทั่งเสร็จสิ้น

องก์ที่ 2 คีตบูรพา เป็นการแสดงภาคกลางคืน มีการแสดง 3 ชุด คือ ทวยเทพปิติอำนวยชัย จิตวิญญาณบูรพา คีตภารดร

เริ่มด้วยด้วยการโหมโรง ชุด THE COLLECTION OF HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ การแสดงชุดแรกขององก์ที่ 1 รุ่งอรุโณทัย ด้วยเหตุที่ภุมิภาคตะวันออกเป็นหมู่มวลประชาชาติที่เห็นดวงตะวันก่อน จึงเริ่มด้วยภาพพระอาทิตย์ฉายแสง เมื่อพระอาทิตย์ฉายแสง ย่อมก่อให้เกิด ชีวิตบุปผชาติ เบ่งบายสะพรั่งหลายสีหลากพันธุ์ทั่วพื้นภูมิภาค จากนั้นจึงกำเนิดอารยธรรมอันรุ่งเรือง ผิดแผกแตกต่างกันไปผูกเป็นสายสัมพันธ์อันปีติปราดมทย์ในการแสดงชุด สหพันธไมตรี ด้วยการแสดงชุด สวัสดีไชโย เปฌนการต้อนรับเข้าสู่พิธีการ OCA และการจุดคบเพลิง จากนั้นจึงเริ่มภาคกลางคืนด้วยการแสดงขององก์ที่ 2 คือ ทวยเทพปีติอำนวยชัย เป็นยามราตรีอันบรรเจิดพิสดาร เมื่อเหล่าทวยเทพทั้งหลายทุกถ้วนเทวฤทธิ์ร่วมฉลองชัย ทำให้มนุษย์โลกหรรษาต่างยินดีปรีดาด้วยศรัทธาในการอยู่ร่วมกันโดยไมตรีจิตมิตรภาพในการแสดงชุด จิตวิญญาณแห่งบูรพา ทั้งนี้ด้วยการร้องรำทำเพลงเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร ต่อด้วยความมุ่งหวังในสายสัมพันธ์อันสันติสุขที่มีกีฬาเป็นสื่อนั้น โดยการแสดงชุด คีตภารดร

กำหนดการ

ชุดการแสดงในพิธีเปิดเวลา
รุ่งอรุโณทัย7 นาที
สหพันธ์ไมตรี8 นาที
สวัสดีไชโย9 นาที
เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ตราธิราชเจ้า5 นาที
พิธีการ OCA1 ชั่วโมง 20 นาที
ทวยเทพปิติอำนวยชัย13 นาที
จิตวิญญาณบูรพา11 นาที
คีตภราดร12 นาที
พลุและดอกไม้ไฟ5 นาที
รวมเวลาการแสดง2 ชั่วโมง 30 นาที

การแสดงก่อนพิธีเปิด

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

รุ่งอรุโณทัย-ไมตรี -สวัสดีไชโย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

พิธีการ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ทวยเทพอำนวยชัย-จิตบูรพา-ภราดร

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

พิธีปิด

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาโดยเสด็จด้วย[4]